แป้งปั้น
เป็นของเล่นที่จัดเป็นสื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างหนึ่งโดยช่วยส่งเสริมทักษะการใช้มือส่งเสริมจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กวัย1 ปีขึ้นไปมีจุดกำเนิดจากการนำส่วนผสมของอาหารได้แก่ แป้งทำขนมเกลือ และน้ำมันพืช มาผสมเข้าด้วยกันทำให้ได้วุตถุที่มีความนวลเนียนเหมาะแก่การนำมาปั้นเป็นสิ่งต่างๆและปลอดภัยในการนำมาให้เด็กเล่นซึ่งคนในประเทศทางซีกโลกตะวันตก(เป็นกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา) นำมาใช้เล่นกับเด็กมาช้านานแล้วในประเทศไทยเริ่มมีผู้นำแป้งปั้นมาใช้กับเด็กในโรงเรียนอนุบาลหลังจากศึกษาหลักสูตรตะวันตกเข้ามามีบทบาทในระบบการศึกษาไทยภายใต้ชื่อ แป้งโดซึ่งยังไม่ได้นำมาใช้แพร่หลายนัก
วิธีเล่น
1. กรณีที่ต้องการฝึกความแข็งแรงของมือและนิ้ว ขยำแป้งปั้นให้เป็นก้อนขนาดพอที่เด็กจะกำได้ส่งให้เด็กถือเด็กจะเผลอบีบแป้งแล้วคลายออกทำเช่นนี้เป็นระยะจะช่วยให้มือแข็งแรงขึ้น
กรณีที่เด็กเริ่มจับของชิ้นแรกๆด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้งได้ผู้ปกครองอาจปั้นแป้งเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อให้เด็กฝึกจับโดยใช้นิ้วดังกล่าวเพียงสองนิ้วหรือลองเล่นฉีกแป้งปั้นเป็นชิ้นเล็กๆให้เด็กดูเพื่อเด็กจะได้สังเกตและทดลองทำตามจะช่วยเพิ่มทักษะ
การใช้นิ้วของเด็กในการหยิบจับสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. กรณีที่ต้องการเพิ่มพูนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ผู้ใหญ่ เป็นบุคคลสำคัญในการเพิ่มพูนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
การเล่นที่ดี คือ นั่งเล่นอยู่กับเด็ก ทดลองปั้นแป้งเป็นรูปต่างๆพร้อมกับพูดไปเรื่อยๆ สมมติเป็นสิ่งต่างๆ เช่น เอ
หนูอยากทานอะไรคะวันนี้ ทานข้าวไหม ขณะพูดก็เด็ดแป้งปั้นให้เป็นชิ้นเล็กๆเป็นระยะวางใส่จาน สมมติเป็นวางข้าวในจานเป็นต้น
อาจนำอุปกรณ์อื่น เช่น ไม้นวดแป้ง ใบไม้ กิ่งไม้ ตัวพิมพ์ขนม มีดพลาสติค หรือ กรรไกรปราศจากคม เป็นต้น มาเล่นประกอบเพื่อช่วยเสริมเรื่องราวขณะเล่น
ขณะที่เด็กกำลังเล่นเพลิน และ ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นนั้น อย่าสั่งให้เด็กหยุดทันที เพราะเด็กจะยังถอนตัวเองจากจินตนาการที่กำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ ทำให้ไม่ยอมหยุดเล่น และดูเหมือนเด็กดื้อไม่ทำตามคำสั่ง วิธีที่ดี คือ การบอกเตือนด้วยการกำหนดเวลา เช่น อีก 2 นาที หมดเวลาเล่นแป้งปั้นแล้วนะคะ จากนั้น ทิ้งระยะเวลาสักพักจึงบอกเด็กว่า หมดเวลาเล่นแป้งปั้นแล้วค่ะ แล้วจึงเบี่ยงเบนให้เด็กไปทำกิจกรรมอื่น เป็นต้น วิธีดังกล่าวหากใช้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องของเวลา ช่วยให้เด็กเตรียมตัวถอนความสนุกจากจินตนาการที่กำลังดำเนินอยู่ขณะเล่น และหยุดเล่นได้เมื่อ ได้ยินคำว่า หมดเวลา แม้ว่าในครั้งแรกๆที่ได้ยินเด็กจะยังหยุดเล่นไม่ได้ในทันทีก็ตาม
สิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นแป้งปํ้น
หลีกเลี่ยงการสั่งให้เด็กปั้นตามความคิดผู้ใหญ่ เพราะจะปิดปั้นโอกาสในการคิดค้นด้วยตนเองของเด็ก
อย่าเน้นการปั้นให้เหมือนจริงโดยเฉพาะกับเด็กวัยก่อน 4 ปี เพราะเด็กเล็กจะยังทำไม่ได้และเมื่อเด็กทำไม่ได้เหมือนแบบที่เห็น ต่อไปเด็กจะไม่ยอมทดลองปั้นเป็นแบบต่างๆที่ตนเองคิดขึ้น
ผู้ใหญ่ใช้แป้งปั้นปันรักสู่เด็กได้โดย
การนั่งเล่นกับเด็กโดยที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กเล่นด้วยตัวของเด็กเองในขณะที่ผู้ใหญ่อยู่ด้วย โดยผู้ใหญ่พยายามวางตนเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้เด็กอยากเล่น อยากทดลอง อยากเรียนรู้ ผู้ใหญ่ต้องตระหนักว่าตนเองเป็นเพียงผู้แนะแนวทาง หรือ แนะวิธีการแก้ปัญหาขณะเล่นกับเด็กไม่ใช่เป็นผู้เล่นแทนเด็ก หรือ สอนให้เด็กเล่นตามที่ผู้ใหญ่คิดตลอดเวลา อย่าลืม..?คอยเสริมสร้างความมั่นใจแก่เด็กโดยให้คำชมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก โดยชี้ชวนหรือชี้แนะให้เด็กได้เล่นหรือปั้นสิ่งที่แตกต่างไปจากที่เคยก็ถือว่าเป็นการปันรักสู่เด็กด้วยวิธีที่ไม่ยากนักวิธีหนึ่ง
ส่วนผสมของแป้งปั้นสูตรสถาบันเด็ก
แป้งปั้น ผลิตจากวัสดุประกอบอาหารทั้งสิ้น ได้แก่ แป้งทำขนม ครีมออฟทาทาร์ น้ำมันพืช สีผสมอาหาร วัตถุแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยกรรมวิธีที่สะอาด ถูกอนามัย ไม่มีสารกันบูด ไม่เป็นอันตราย
สีและกลิ่นของแป้งปั้น
มีทั้งหมด 9 สี คือ
1. สีแดง กลิ่นสละ
2. สีเขีบว กลิ่นใบเตย
3. สีน้ำเงิน กลิ่นมะนาว
4. สีเหลือง กลิ่นกล้วย
5. สีส้ม กลิ่นส้ม
6. สีขาว กลิ่นมะลิ
7. สีม่วง กลิ่นองุ่น
8. สีฟ้า กลิ่นนมแมว
9. สีชมพู กลิ่นสตอเบอรี่
วิธีเก็บรักษา
ควรเก็บแป้งปั้นใส่กล่อง และปิดฝาทันทีที่เล่นเสร็จ เพื่อช่วยให้สามารถเล่นต่อได้นานๆโดยทั่วไป แป้งปั้นที่ผลิตนี้จะสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 3 - 6 เดือน นับจากวันผลิต หากแป้งปั้นมีลักษณะแข็ง หรือเหลว ติดมือ ควรหยุดการนำมาใช้
ขอขอบคุณบทความดีๆทางอาชีพ
แหล่งที่มา : http://www.childthai.org/cia/a001141.htm