ผีเสื้อจากใบยางพารา
ขั้นตอนต่างๆ ของการประดิษฐ์ แบ่งได้ดังนี้
การคัดเลือกใบยางพารา
คัดเลือกใบยางพาราไม่อ่อนหรือแก่จัดอายุใบประมาณ 2-3 เดือน หรือเรียกว่าใบเพศลาก ใบไม่มีตำหนิหรือเป็นโรค ใช้ได้ทุกขนาดตั้งแต่ 2" - 10" การหมักใบยางจะนำใบยางมาหมักในบ่อซีเมนต์ ใส่น้ำให้ท่วมใบยาง ใช้ถุงพลาสติกปิดปากบ่อ (กันยุงลงไปวางไข่) หมักไว้นานสองเดือน
การฟอก
นำใบยางที่หมักไว้แล้วนำมาล้างส่วนที่เป็นสีเขียวออกให้หมด ถ้าไม่หมดให้ใช้แปรงด้ามเล็กๆขนอ่อน แปรงออกให้หมด นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาฟอกให้ขาวโดยใช้คลอรีนอัตราส่วน คลอรีน 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน นำใบยางที่ล้างสะอาดแล้วลงไปแช่ในคลอรีนให้น้ำท่วนใบยาง (กดให้จมก็ได้) นาน 30 นาที แล้วผึ่งลมให้แห้ง(อย่าตากแดดไม่เช่นนั้นใบยางจะกรอบแตก) แล้วนำมาคัดแยดขนาดเพื่อจัดเก็บต่อไป
ขั้นตอนการทำตัวและส่วนประกอบของผีเสื้อ
การทำปีกผีเสื้อ
โดยปกติแล้วผีเสื้อใบยางจะทำโดยการนำแบบของจริงทั้งขนาด และลวดลายตามธรรมชาติจริงๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ทำโดยการทาบแบบจากกระดาษแข็งที่จัดเตรียมไว้ มีทั้งหมดด้วยกัน 8 ขนาด แล้วตัดตามแบบ นำไปย้อมสี แล้วทำลวดลายด้วยการพ่นสีสเปรย์ จากนั้นก็ทำการแต่งด้วยฝีมืออีกหนึ่งรอบเพื่องานที่ได้คุณภาพ ซึ่งขั้นตอนการทำปีกผีเสื้อนี้ ผีเสื้อหนึ่งตัวจะต้องใช้ยางพาราประมาณ 2 ใบขึ้นไปซึ่งแล้วแต่ขนาด
การทำตัวผีเสื้อ
เศษใบยางที่เหลือจากการทำปีกของผีเสื้อนั้น ไม่ได้เอาไปทิ้งให้เสียประโยชน์ แต่จะเอาไปคลึงให้เป็นรูปตัวผีเสื้อยาวรีตามขนาดของผีเสื้อ แล้วห่อด้วยใบยางทับอีกหนึ่งชั้น มัดด้วยสีตามแบบของปีกเป็นปล้องๆ แบ่งเป็นส่วนหัว ส่วนลำตัว ส่วนหาง แล้วนำไปย้อมสี ติดหนวดและจมูกด้วยป่านศรนารายณ์ย้อมสีดำ ติดตาโดยใช้เกสรสีดำเม็ดใหญ่ผ่าซีกติดตาทั้งสองข้าง
การประกอบตัวผีเสื้อ
ขั้นตอนการประกอบตัวผีเสื้อเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องเก็บทุกรายละเอียด และความเรียบร้อยของชิ้นงานด้วย โดยการนำส่วนประกอบทุกๆส่วนมาประกอบด้วยการใช้ปีนยิงกาว เชื่อมระหว่างปีกกับลำตัว รอให้แห้งแล้วติดกาวกับฐานเพื่อให้ผีเสื้อตั้งได้ จากนั้นก็ทากากเพชรให้ทั่วปีกและลำตัว จากนั้นจึงบรรจุกล่องเตรียมจำหน่ายต่อไป และทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนการทำผีเสื้อจากใบยาง หรือว่า "ผีเสื้อสุราษฎร์ธานี" หากท่านใดสนใจรายละเอียดมากกว่านี้หรือต้องการเข้าชมการสาธิตก็สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรควนสุบรรณได้โดยตรง
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้ว
|
ขอขอบคุณบทความดีๆทางอาชีพ
แหล่งที่มา : http://www.srp.ac.th/~kitima/kitima/webstudent/student/butterfly/data/index.htm
|